ท้องผูก ถ่ายยาก อย่าปล่อยทิ้งไว้

ผู้หญิงกุมท้องแสดงอาการท้องผูกและลำไส้ที่ปวด

ท้องผูก ขับถ่ายยาก อุจจาระเป็นก้อนแข็ง นั่งห้องน้ำเป็นเวลานาน อย่าปล่อยทิ้งไว้

  ท้องผูก ถ่ายยาก อย่าปล่อยทิ้งไว้ เป็นหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะมีมาเป็นเวลานานและจะคิดไปว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ความเป็นจริงหากปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรัง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้ เช่น แผลในลำไส้ ริดสีดวง หรือขั้นรุนแรงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ รวมไปถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ดังนั้น ถ้ารู้เท่าทันอาการท้องผูกจะช่วยให้เรารับมือ และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกวิธี

ท้องผูกคืออะไร?

          ท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ เป็นอาการที่ลำไส้บีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้า จึงไม่สามารถกำจัดอุจจาระออกจากทางเดินอาหารได้ตามปกติ เกิดการตกค้างในลำไส้ใหญ่เป็นเวลานาน เมื่อร่างกายดูดน้ำในอุจจาระกลับ จึงทำให้มีลักษณะอุจจาระที่แข็งและมีขนาดใหญ่ หรือมีอาการถ่ายลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมากเวลาถ่ายอุจจาระ หรือใช้เวลาในการขับถ่ายเป็นเวลานาน หรือมีอาการถ่ายไม่สุด มีอาการปวดอยากถ่ายอีกภายหลังจากถ่ายอุจจาระไปแล้ว ต้องใช้นิ้วหรือใช้น้ำช่วยในการขับถ่าย

มาเช็คกันแบบไหนที่เรียกว่าท้องผูก..??

          ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ท้องผูกเป็นการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่จริงๆ แล้วอาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่สามารถถ่ายได้อย่างสบายๆ ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วันจะถ่ายสักครั้งก็ไม่ถือว่าผิดปกติ

แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกว่า การขับถ่ายเป็นเรื่องยาก และหลายครั้งที่จะต้องอยู่ในห้องน้ำเป็นเวลานานหลายชั่วโมง เพื่อเบ่งถ่ายอุจจาระไม่ออกหรือเบ่งยาก อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ดกระสุนหรือเป็นก้อนแข็ง ทำให้ถ่ายไม่สุดเหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่าคุณมีอาการท้องผูกเรื้อรังอย่างแน่นอน

ท้องผูกเกิดจากอะไร…?

     ท้องผูก มักเกิดขึ้นเมื่อลำไส้บีบตัวหรือเคลื่อนตัวช้าในระหว่างที่ย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท้องผูกเรื้อรังเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักๆ ได้แก่

   – พฤติกรรมในชีวิตประจำวันอาจทำให้เกิดท้องผูกเรื้อรัง เช่น การรับประทานอาหารที่มี

กากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย เป็นต้น

   – ยาบางประเภทอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการท้องผูกเรื้อรังได้ เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ยาลดความดันโลหิต ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียม หรืออะลูมิเนียม ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน เป็นต้น

   – ภาวะที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลอาจทำให้เกิดปัญหาท้องผูกเรื้อรังได้ เช่น โรคเบาหวาน ไขมัน

โรคลำไส้แปรปรวน ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ หรือการตั้งครรภ์ เป็นต้น

   –  การทำงานของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ หรือสภาวะลำไส้เฉื่อยเป็นการที่ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง  

ทำให้อุจจาระเคลื่อนลงมาช้ากว่าปกติ

ปัญหาท้องผูกเรื้อรังนั้นต้องรักษาที่สาเหตุ และเมื่อใดก็ตามที่ร่างกายเริ่มมีการขับถ่ายที่ผิดปกติไปจากเดิม เราต้องสังเกตอาการและรีบหาสาเหตุ เพราะหากปล่อยไว้จนเกิดท้องผูกเรื้อรัง นั่นอาจกลายเป็นช่องทางสู่โรคอันตรายอื่นๆ อย่างริดสีดวง ลำไส้เป็นแผล และภาวะท้องผูกเองยังเป็นอาการนำหรืออาการที่บ่งชี้ถึงภาวะลำไส้อุดตัน หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 

 

 

ท้องผูกเรื้อรังอันตรายกว่าที่คิด

   เมื่อเกิดอาการท้องผูกบ่อยๆ ทำให้อุจจาระมีการตกค้างจนแห้งแข็ง จนในเวลาที่ถ่ายอุจจาระต้องใช้แรงเบ่งมาก ถ่ายลำบากและอุจจาระไปเสียดสีกับผนังลำไส้ รวมไปถึงทวารหนัก ทำให้ถ่ายเป็นเลือด เกิดบาดแผลรอบๆ ทวารหนักซึ่งเป็นสาเหตุของโรคริดสีดวงทวาร นอกจากนี้อาการท้องผูกเรื้องรังอาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ ลำไส้ใหญ่เกิดแผล และร้ายแรงไปกว่านั้นอาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

   –  ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งขูดหลอดเลือดจนฉีกขาด

   –  ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้

   –  ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู

   –  ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้

   –  ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

   –  ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ

ท้องผูกแก้ได้

   อาการท้องผูกนั้นแก้ไขให้ทุเลาลงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

50% ของผู้ที่มีอาการท้องผูกสามารถกลับมาขับถ่ายได้เป็นปกติเพียงแค่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตซึ่งได้แก่

   – การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง โดยเฉพาะผัก ผลไม้และธัญพืช

   – ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 8–10 แก้วต่อวัน

   – ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เนื่องจาก การเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้นด้วย

   – รับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะอาหารเช้าช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวแล้วไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานเกิดเป็นความรู้สึกอยากถ่าย

2. การฝึกขับถ่ายให้เป็นธรรมชาติ

หลายคนเบ่งถ่ายผิดวิธีมาทั้งชีวิตโดยไม่รู้ตัวจนทำให้เกิดภาวะท้องผูก

Tips ท่านั่งขับถ่ายที่ถูกต้อง

   – ท่านั่งขับถ่ายมีผลอย่างมากต่อการขับถ่ายอุจจาระของคุณ ท่านั่งที่ถูกจะช่วยให้ไส้ตรงทำมุมดีขึ้นต่อการขับถ่าย ช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลและไม่ล้า ท่าที่ควรนั่งขับถ่าย คือ ท่าประเภทนั่งยองหรืองอเข่า โดยใช้เทคนิคดังต่อไปนี้

   ยาที่ช่วยรักษาอาการท้องผูกสามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น เส้นใยหรือไฟเบอร์ มีสารที่มีคุณสมบัติในการดูดน้ำได้ดี อุจจาระจึงนิ่มและถ่ายออกได้ง่าย ยาระบายกลุ่มกระตุ้น ช่วยกระตุ้นจังหวะการบีบตัวของลำไส้ให้ทำงานดีขึ้น ยาระบายกลุ่มออสโมซิส ช่วยออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่มากขึ้น ทำให้อุจจาระไม่แห้งและแข็งจนถ่ายออกลำบาก ยาช่วยหล่อลื่นอุจจาระ ยาเหน็บและการสวนอุจจาระ เป็นต้น ทั้งนี้ควรดูแลรักษาสุขภาพและรับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงและมีอนามัยที่ดีอยู่เสมอ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *