อุจจาระเต็มท้อง รักษาไม่ยาก ป้องกันได้ง่าย

ผู้หญิงนั่งในห้องน้ำถือม้วนกระดาษทิชชูและมีอาการท้องผูก

  อุจจาระเต็มท้อง หรือโรคท้องผูกรุนแรง เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและทำให้คนทั่วไปต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ไม่พึงประสงค์ต่อร่างกาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที โรคนี้สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง และส่งผลกระทบที่ไม่น่าเชื่อถือต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย.

ในบทความนี้ เราจะลงลึกสู่ลักษณะของโรคท้องผูกรุนแรง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ และวิธีการที่สามารถช่วยบรรเทาและการป้องกัน โรคท้องผูกรุนแรงไม่เพียงแต่เป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถป้องกันได้ แต่ยังเป็นปัญหาที่สามารถรักษาได้ด้วยการทำไปในทางที่ถูกต้อง ดังนั้น การเข้าใจถึงลักษณะและการจัดการโรคนี้มีความสำคัญอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต.

โรคอุจจาระเต็มท้อง คืออะไร ?

   โรคอุจจาระเต็มท้อง หรือ ขี้เต็มท้อง คือ ภาวะอาการท้องผูกอย่างรุนแรง มีอุจจาระแห้งเนื่องจากการสูญเสียน้ำ และ ฝังตัวแน่นอยู่บริเวณลำไส้เป็นจำนวนมาก ทำให้เมื่อมีอุจจาระใหม่ เข้ามาก็ไม่สามารถขับอุจจาระเก่าออกไปได้ จนกลายเป็นอุจจาระที่แข็งและสะสมอยู่ในลำไส้ 

1. อาการของ “โรคอุจจาระเต็มท้อง” สามารถพบได้หลายรูปแบบ ดังนี้

   – เจ็บทวารหนัก

   – แน่นท้อง ท้องอืด

   – ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย

   – มีอาการเรอเปรี้ยว หรือผายลมบ่อย

   – ท้องผูก ไม่ถ่ายติดต่อกันหลายวัน

   – อุจจาระ เป็นก้อนเล็ก หรือ รู้สึกถ่ายไม่สุด

   เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่ไม่ควรปล่อยปละละเลย โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อาการเล็กๆ น้อยๆ ก็ควรจะต้องใส่ใจ หมั่นตรวจสุขภาพและไปพบแพทย์เมื่อมีอาการน่าสงสัย

2. กลุ่มเสี่ยงของโรคอุจจาระเต็มท้อง

   กลุ่มเสี่ยงของโรคอุจจาระเต็มท้องจริงๆ แล้ว โรคดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัยที่มีปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย โดยปัจจัยเสี่ยง “โรคอุจจาระเต็มท้อง” มีดังนี้

   – ดื่มน้ำน้อย

   – ทานอาหารที่มีกากใยน้อย

   – นั่งขับถ่ายไม่ถูกสุขลักษณะ

   – อั้นอุจจาระ / อุจจาระไม่เป็นเวลา

   – ไม่ค่อยออกกำลังกาย / ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย

3. โรคอุจจาระเต็มท้อง ป้องกันได้ไม่ยาก

   ถ้าไม่อยากโดนสวนทวารหนัก หรือมีอาการท้องผูกจนเสี่ยงต่อโรคอุจจาระเต็มท้อง เราก็สามารถป้องกันได้ด้วยวิธี ดังนี้

   – ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

   – ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน

   – ดื่มน้ำอุณภูมิห้อง 1 แก้ว หลังตื่น

   – รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง

   – ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา / ไม่อั้นอุจจาระ

4. การขับถ่ายและนั่งถ่ายเพื่อให้ห่างไกลจาก “โรคอุจจาระเต็มท้อง”

   – ฝึกถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายและลำไส้เคยชิน เวลาขับถ่ายที่เชื่อว่าดีที่สุดคือ 05.00 น. ถึง 07.00 น.

   – ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิปกติ 1 แก้วหลังตื่นนอนตอนเช้า น้ำอุ่นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนตัวได้ดี ทำให้ขับถ่ายสะดวก

   – อย่าอั้นอุจจาระ เพราะอาจทำให้ลำไส้บีบอุจจาระกลับขึ้นไปที่ลำไส้ จนเกิดอุจจาระคั่งค้างที่ผนังลำไส้ได้

   – อย่าเบ่งอุจจาระแรงๆ ขณะที่ไม่ปวด เพราะจะกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ จะเกิดผลเสียตามมาได้ หากทำบ่อยๆ อาจทำให้ลำไส้โป่งพองส่งผลต่อการเกิดริดสีดวงทวารได้

   – นั่งถ่ายอย่างถูกวิธี ท่านั่งที่เหมาะกับการขับถ่ายมากที่สุดคือ “นั่งยองๆ” เพราะจะมีแรงกดจากหน้าขาช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องที่สุด แต่สำหรับชักโครก ท่านั่งที่ถูกต้องช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้นคือ “เอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย”

    เมื่อเป็นโรคอุจจาระเต็มท้อง ควรจะหลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย หรือยากระตุ้นลำไส้ โดยเฉพาะยาที่มีส่วนผสมของมะขามแขก ยาประเภทนี้จะทำให้ลำไส้ไม่ทำงาน หรือลำไส้ขี้เกียจ ซึ่งในที่สุดแล้วจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทำให้เกิดความผิดปกติของลำไส้ เช่น ลำไส้อักเสบ หรือลำไส้แปรปรวน แต่การขับถ่ายให้เป็นเวลาต่างหาก ที่จะช่วยลดความเสี่ยงอุจจาระเต็มท้องได้ดีที่สุด

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *